ประวัติห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ประวัติห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (Library of Department of Skill Development) จัดตั้งพร้อมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (Department of Skill Development-DSD) เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่กำลังแรงงานและสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศลักษณะงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นงานเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสเพิ่มทักษะฝีมือให้มีงานทำในฐานะลูกจ้างหรือประกอบอาชีพส่วนตัว นอกจากนี้แล้วทางห้องสมุดยังมีบทบาทและหน้าที่เป็นศูนย์บริการข้อมูลเอกสารด้านแรงงานและการพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization- ILO) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานและให้ความร่วมมือในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกคือ APSDEP (Asian and Pacific Skill Development Programme) และ APSDIN (Asian and Pacific Skill Development Information Networks) ดังนั้นห้องสมุดจึงมีการจัดตั้งเพื่อให้สอดคล้องกับระบบงาน ที่เกี่ยวกับแรงงาน การฝึกอบรมอาชีพ และการพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมทั้งยังมีโครงการที่จะพัฒนาระบบห้องสมุดให้ทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้ห้องสมุด โดยเรียงลำดับเหตุการณ์ดังนี้
วันที่ 15 มีนาคม 2535 จัดตั้งห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และเปิดทำการเป็นครั้งแรก สังกัด กระทรวงมหาดไทย
วันที่ 19 ธันวาคม 2535 ได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ออกเป็น 10 กอง โดยงานห้องสมุด อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายวิจัยและพัฒนา กองวิชาการและแผนงาน
วันที่ 23 กันยายน 2536 รัฐบาลได้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยโอนกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ไปสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติยุบส่วนราชการกรมแรงงาน และถือเป็นวันสถาปนากระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ปี พ.ศ. 2538 ห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ย้ายมาตั้งอยู่บริเวณชั้น 4 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (ตึก 10 ชั้น) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
ปี พ.ศ. 2540 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้มีโครงการปรับปรุงและวางระบบคอมพิวเตอร์ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในโครงการดังกล่าว มีระบบห้องสมุดรวมอยู่ด้วย และได้มีการพัฒนา Software ระบบห้องสมุด ซึ่งเป็นการใช้ระบบโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับบริหารจัดการข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด เป็นครั้งแรกและ
ได้พัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2544 ได้มีการย้ายหน่วยราชการของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ทำให้ห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ย้ายสถานที่ทำการจากชั้น 4 มาที่ชั้น 9 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลและเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่
ในส่วนของการให้แต่ละหน่วยงานโดยเฉพาะกองแผนงานและสารสนเทศ เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของกรม จึงทำให้ห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปรับบทบาทของห้องสมุดจึงทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อจากห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงาน เป็น ศูนย์บริการข้อมูลการพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปัจจุบัน
อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายสารสนเทศการพัฒนาฝีมือแรงงาน กองแผนงานและสารสนเทศ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
วันที่ 6 ธันวาคม 2545 ได้เปลี่ยนชื่อห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็น ศูนย์บริการข้อมูลการพัฒนาฝีมือแรงงาน (Information Service Center for Skill Development - ISCSD) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างและภารกิจของกองแผนงานและสารสนเทศ ที่จะทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในเรื่องของการให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ด้านแรงงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน และความรู้ทั่วไปในทุกสาขาวิชา
เช่นเดียวกับห้องสมุดทั่วๆไป
วันที่ 23 เมษายน 2552 ได้มีการคำสั่งจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานภายใน ซึ่งแยกออกจากกองแผนงานและสารสนเทศ โดยมีงานห้องสมุดและศูนย์ข้อมูล เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำหน้าที่รับผิดชอบการให้บริการงานห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ และผู้สนใจทั่วไป
วันที่ 29 มีนาคม 2556 ได้มีการจัดโครงสร้างลงตามโครงสร้างใหม่ โดยงานห้องสมุดและศูนย์ข้อมูล ได้ย้ายมาสังกัด ฝ่ายสารสนเทศการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กองแผนงานและสารสนเทศ
วันที่ 30 กันยายน 2559 ได้จัดคนลงตามโครงสร้างใหม่ โดยโอนย้ายงานห้องสมุดและศูนย์ข้อมูล มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเลขานุการกรม โดยลักษณะการบริหารงานเป็นกลุ่มงานห้องสมุด และมีตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงาน (บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ) เป็นผู้อำนวยการกลุ่มงานห้องสมุดจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันห้องสมุดกรมพัฒนาฝีมือแรรงานได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการโดยให้มีหนังสือที่มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่บุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่ให้มีการส่งเสริมการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนองค์กรเป็นระบบราชการ 4.0 และการเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัลในอนาคตต่อไป